วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

บทประพันธ์ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์บ่อยครั้ง
( Remake Story )

เรื่อง อุบัติเหตุ
          อุบัติเหตุ เป็นบทประพันธ์ของกนกเรขา (ทมยันตี) เรื่องของสาวที่ขับรถชนคนรักของชายหนุ่มอีกคนตาย ทำให้ชายหนุ่มโกรธแค้นเพราะว่าเป็นฆาตกรรม ทั้งที่เธอว่ามันเป็นอุบัติเหตุ บทประพันธ์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ในปีเดียวกัน คือปี 2517 (ภาพยนตร์ปี 2517 นำแสดงโดยคุณสมบัติ เมทนี และคุณภาวนา  ชนะจิต  สร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2531 นำแสดงโดย คุณสันติสุข  พรมศิริ และคุณจินตหรา  สุขพัฒน์) รวมสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้วทั้งหมด 5 ครั้

- ปี 2517 (ทางช่อง 9) นำแสดงโดยคุณชุมพร  เทพพิทักษ์  และคุณศิริพร  วงษ์สวัสดิ์

คุณชุมพร  เทพพิทักษ์

คุณศิริพร  วงษ์สวัสดิ์

- ปี 2526 (ทางช่อง 7 ออกอากาศต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นปี 2527) นำแสดงโดยคุณพล พลากร และคุณมนฤดี  ยมาภัย

 คุณพล พลากร

คุณมนฤดี  ยมาภัย

- ปี 2533 (ทางช่อง 7) นำแสดงโดยคุณลิขิต  เอกมงคล  และคุณสิเรียม  ภักดีดำรงฤทธิ์ 

คุณลิขิต  เอกมงคล

 คุณสิเรียม  ภักดีดำรงฤทธิ์ 

 - ปี 2541 (ทางช่อง 3) นำแสดงโดย คุณพีท  ทองเจือ  และคุณคทรีนา  กลอส

คุณพีท  ทองเจือ

 คุณคทรีนา  กลอส

- ปี 2555 (ทางช่อง 7) นำแสดงโดย คุณอรรคพันธ์  นะมาตร์  และคุณพัชราภา  ไชยเชื้้อ

 คุณอรรคพันธ์  นะมาตร์


 คุณพัชราภา  ไชยเชื้้อ



ในความคิดเห็นของผมนั่นในแต่ละยุคในแต่ละสมัยก็มีการดำเนินเนื้อเรื่องที่แตกต่างกันเรื่องภาพและเสียงก็ต่างกัน ยิ่งทำใหม่เทคนิคในต่างๆ นักแสดงก็เพิ่มมากขึ้น ส่วนตัวผมคิดว่าดี ถ้ามีการที่นำเอาละครหรือหนังที่เป็นที่จดจำในอดีตกลับมาทำใหม่ให้ดูทันสมัยขึ้น ประสิทธิภาพในหลายๆ อย่างดีขึ้้น


ข้อมูลจาก http://2g.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A13049705/A13049705.html
บทความโดย : นายนิธิกรสิทธิขันแก้ว 561744073


นักนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิตอล
              
  นักนิเทศศาสตร์ในยุดดิจิตอลทำให้ผมนึกถึง สื่อต่างๆ ที่ปรากฏในโลกโซเชียล เพราะปัจจุบันเป็นโลกของดิจิตอลไปแล้ว เป็นยุคของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เพราะฉะนั้นนักนิเทศศาสตร์ดิจิตอลในความคิดของผมคือ สื่อหรือข่าวสารที่โพสกันตามหน้าเว็บไซต์หรือกระทู้ต่าง ๆ โลกของเราหมุนไปเรื่อยๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้โลกของเราก้าวไปก็คือ นักนิเทศศาสตร์ผมไม่ได้จำกัดความหมายว่านักนิเทศศาสตร์จะต้องเป็นแค่นักข่าวหรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับด้านโทรทัศน์เท่านั้น เพราะนักนิเทศศาสตร์นั้นอาจจะเป็นผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตสื่อต่างๆ ออกมาเผยแพร่ในโลกโซเชียลก็ได้


                ความจริงแล้วยุคนี้เป็นยุคที่เดินหน้าไปไวมากอาจจะเป็นเพราะมีนักนิเทศศาสตร์ในแขนงต่างๆ มากขึ้นและนักนิเทศศาสตร์ในยุคนี้ต่างคนก็มีความรู้ ความสามารถ หลากหลาย เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าใครกันเป็นผู้ผลิตหรือตัดต่อสื่อโทรทัศน์ต่างๆ ใครกันเป็นผู้ที่คิดและออกแบบรายการนั้นๆ ขึ้นมา และใครกันที่เป็นผู้ผลิตโลกออนไลน์ที่เห็นหันอยู่มนทุกวันนี้ขึ้นมา ผมเชื่อว่าจะต้องมีนักนิเทศศาสตร์บ้างแหละ



                สุดท้ายแล้วนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอลในความคิดของผมก็คือ ผู้ที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี เป็นผู้ที่นำพาสื่อในโลกของเราเดินหน้าไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง และผมเชื่อว่านักนิเทศศาสตร์ที่ดีต้องเป็นผู้ที่คิดกว้างไกล มองโลกแห่งความเป็นจริง และซื่อตรง และผมหวังว่าในอนาคตเองผมจะต้องเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่ดีและมีความสามารถให้ได้


บทความโดย : นายนิธิกรสิทธิขันแก้ว 561744073

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)

โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)

ช่างเหล็กและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน มีชื่อเสียงจากการมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ ในช่วงราวคริสศตวรรษ 1450 ซึ่งรวมถึงตัวพิมพ์โลหะอัลลอย และหมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน แม่พิมพ์สำหรับหล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ และแท่นพิมพ์แบบกดแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาจากเครื่องกดที่ใช้ในการทำไวน์กูเตนแบร์กได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้ และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปกูเตนแบร์กเกิดที่เมืองไมนซ์ ในประเทศเยอรมนี โดยเป็นบุตรชายของพ่อค้าชื่อ Friele Gensfleisch zur Laden ซึ่งต่อมาได้รับเอาชื่อ "zum Gutenberg" ซึ่งเป็นชื่อของบริเวณที่ครอบครัวของเขาย้ายเข้าไปอยู่อาศัย มาใช้เป็นนามสกุล





หตุที่กูเตนเบิร์กได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการพิมพ์ก็เนื่องมาจากเขาเกิดในดินแดนยุโรปที่มีตัวอักษรแค่ 26ตัว และปัญญาชนของโลกใช้วิทยาการนี้เผยแพร่ความคิด เขาจึงได้ชื่อว่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ เพราะวิทยาการของเขาส่งผลต่อวิทยาการแขนงต่างๆของโลกสืบมาโยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden Zum Gutenberg) เกิดราวปี ค.ศ. 1398 ที่เมืองไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี บิดาเป็นขุนนางขั้นสูงชั้นสูง ชื่อ ไฟร์ล เจนส์ไฟร์ล ซูร์ ลาเดน (FFriele Gensfleisch Zur Laden) ส่วนมารดาชื่อ เอลซ์ ไวริช (Else Wyrich)ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา  ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต
(
The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต  หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก  ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)   ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย   ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโล




ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน
ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมืองของยุโรปและของโลก  ช่วงที่ Gutenberg คิดค้นแท่นพิมพ์นั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นช่วงเดียวกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) หรือบทบาทของ Martin Luther ผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ที่แปลคัมภีร์ไบเบิ้ลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน จากนั้นก็อาศัยวิวัฒนาการของการพิมพ์ที่ทำให้คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับภาษาเยอรมันแพร่หลายไปทั่ว และเริ่มโน้มน้าวให้คริสตชนเริ่มมาสนใจกับสิ่งที่เขียนในพระคัมภีร์ แทนที่จะไปเชื่อในสิ่งที่บาทหลวง

ประโยชน์ที่ได้รับในปัจจุบัน
มนุษย์ไม่ต้องคัดลอกเอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพราะมีเครื่องพิมพ์ ที่พัฒนาจากยุคสมัยของกูเตนเบิร์กจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน ไว้ช่วยทุ่นแรง


บทความโดย : นายนิธิกรสิทธิขันแก้ว 561744073

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชวิตน้องใหม่ ( Freshy in CRRU )

        ก้าวแรกที่ผมได้ก้าวเข้ารั้วมหาลัย ผมงง ๆ ว่านี่ผมมาเรียนหรือมาทำกิจกรรมกันแน่ แต่พอผมได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคนแปลกหน้าที่ผมไม่เคยรู้จัก ผมก็ได้เข้าใจว่าเขาจัดกิจกรรมนั้นขึ้นมาเพื่ออะไร กิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผมรู้จักคนแปลกหน้าเหล่านั้นดีขึ้น ผมได้รู้ว่าเขาจบมาจากที่ไหน มาเรียนเพื่ออะไร กิจกรรมเหล่านั้นทำให้ผมสนิทกับเพื่อนง่ายขึ้น กิจกรรมทำให้ผมรักเพื่อน รักสาขา รักคณะ รักสถาบัน ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่ากิจกรรมที่ผมเคยมองว่าไร้สาระ มันจะทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไปมากขนาดนี้ ผมกลายเป็นคนที่ทำทุกอย่างอย่างเพื่อสขา ผมทำทุกอย่างถ้ามันจะเป็นประโยชน์ต่อผมและต่อส่วนรวม
         ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่ากินกรรมมันจะทำให้ผมเจอเพื่อนดี ๆ  ในวันที่ผมลำบากก็จะมีเพื่อนที่คอมยืนอยู่เคียงข้าง มันทำให้ผมไม่รู้สึกว่าตัวเองอยุ่บนโลกคนเดียว ตั้งแต่เปิดเทอมมา ผมแทบจะทำกิจกรรมทุกวัน แต่กิจกรรมต่าง ๆ มันก็มีความสนุกอยู่ในตัว ผมเชื่อว่าคนที่ไม่ได้มาร่วมกิจกรรม ไม่ได้ลำบากไปพร้อม ๆ กับคนในสาขาคงวางตัวลำบาก เพราะเขาอาจจะไม่มีเพื่อนสนิทเลย และเวลาเขามีปัญหาคงไม่มีใครอยากจะให้ความช่วยเหลือ ผมว่าถ้ามีกิจกรรมหรืองานอะไรที่เราทำได้และไม่ได้ลำบากมากเกินไป เราควรจะทำไม่อย่างงั้นเราอาจจะถูกมองว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว มีกิจกรรมหนึ่งที่ผมประทับใจมาก คือกิจกรรมแข่งบูม มันเป็นกิจกรรมที่รวบรวมความสามัคคีของคนในสาขา ผมไปซ้อมบูมทุกเย็น บางวันก็สนุกแต่บางวันก็อาจจะซ้อมหนักจนเหนื่อยล้า แต่ผมไม่เคยคิดท้อ เพราะกิจกรรมนี้ทุกคนเหนื่อยเหมือน ๆ กัน ทุกคนทำเพื่อสาขาเหมือนกัน ใน   1 เดือนสำหรับชีวิตน้องใหม่ผมว่ามันคุ้มค่าเหลือเกิน ผมได้เจอเพื่อนดี ๆ ผมได้ทำกิจกรรมดี ๆ  ผมได้ยิ้ม ได้หัวเราะ และสนุกไปพร้อม ๆ กับคนที่ผมเรียกว่าเพื่อน ผมเชื่อว่าทุกคนที่ได้ชีวิตน้องใหม่คงรู้สึกไม่ต่างจากผม เพราะหนึ่งชีวิตเรามีสิทธิ์ที่จะเป็นน้องใหม่แค่ครั้งเดียว น้องจากจะมาเรียนซ้ำเท่านั้นแหละ เราไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมแบบปี 1 ได้อีกเพราะกิจกรรมเหล่านี้ก็จะส่งต่อให้น้องรุ่นต่อ ๆ ไป

          เรื่องเรียนกับเรื่องกิจกรรมมันสำคัญพอ ๆ กัน เพราะในเวลาที่เราไปสมัครงานเขาไม่ได้ดูแค่ผมการเรียนอย่างเดียวเขาดูด้วยว่าตอนที่เราเรียนเราได้ร่วมกิจกรรมอะไรมาบ้าง ผมหวังว่าผมจะได้เรียนอย่างมีความสุข มีเพื่อน ๆดี จบมหาลัยจะได้ทำงานในแบบที่ผมชอบ และผมจะไม่มีวันลืมคำว่าน้องใหม่ จะไม่มีกิจกรรมที่ผมได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขมากับเพื่อน มหาลัยทำให้ผมเป็นคนที่รักคนอื่นนอกจากตัวเอง ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตน้องใหม่ คงรู้สึกแบบผมเช่นกันว่ากิจกรรมทำให้ผมรักเพื่อน ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าไม่มีกิจกรรมดี ๆ เหล่านี้ผมจะมีเพื่อนดี ๆ แบบนี้ไหม




บทความโดย : นายนิธิกรสิทธิขันแก้ว 561744073