โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)
ช่างเหล็กและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน มีชื่อเสียงจากการมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ ในช่วงราวคริสศตวรรษ 1450 ซึ่งรวมถึงตัวพิมพ์โลหะอัลลอย
และหมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน แม่พิมพ์สำหรับหล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ และแท่นพิมพ์แบบกดแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาจากเครื่องกดที่ใช้ในการทำไวน์กูเตนแบร์กได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป
ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น
เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว
เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้
และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปกูเตนแบร์กเกิดที่เมืองไมนซ์ ในประเทศเยอรมนี โดยเป็นบุตรชายของพ่อค้าชื่อ Friele Gensfleisch zur Laden ซึ่งต่อมาได้รับเอาชื่อ "zum Gutenberg" ซึ่งเป็นชื่อของบริเวณที่ครอบครัวของเขาย้ายเข้าไปอยู่อาศัย
มาใช้เป็นนามสกุล

(The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิต หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้ชะตากรรมของกูเตนเบิร์กอีกเลย กระทั่งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือนมีคม ค.ศ. 1434 ว่าเขาพักแรมอยู่ที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) ทำงานเป็นลูกจ้าในร้านตัดกระจก เขาประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder) ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์กูเตนเบิร์กพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ’ไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก’ (The Gutenburg Bible) จากผลงานครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นมหาดเล็ก และได้รับเงินบำนาญอีกด้วย ต่อมาปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน (William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ Recuyell of the Histoyes of Troye นับเป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกของโล
ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน
ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมืองของยุโรปและของโลก ช่วงที่ Gutenberg คิดค้นแท่นพิมพ์นั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นช่วงเดียวกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) หรือบทบาทของ Martin Luther ผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ที่แปลคัมภีร์ไบเบิ้ลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน จากนั้นก็อาศัยวิวัฒนาการของการพิมพ์ที่ทำให้คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับภาษาเยอรมันแพร่หลายไปทั่ว และเริ่มโน้มน้าวให้คริสตชนเริ่มมาสนใจกับสิ่งที่เขียนในพระคัมภีร์ แทนที่จะไปเชื่อในสิ่งที่บาทหลวง
ประโยชน์ที่ได้รับในปัจจุบัน
มนุษย์ไม่ต้องคัดลอกเอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพราะมีเครื่องพิมพ์ ที่พัฒนาจากยุคสมัยของกูเตนเบิร์กจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน ไว้ช่วยทุ่นแรง
บทความโดย : นายนิธิกรสิทธิขันแก้ว 561744073
ภาษาไม่เหมือนการพูดคุยบอกเล่า เหมือนถูกบังคับเขียนตามหน้าที่ มันเลยไม่มีเสน่ห์ให้น่าอ่าน
ตอบลบ